เกษตรกรเลี้ยงหมู ขอบคุณ รมว.พาณิชย์ จัดขายหมูถูก 600 จุดทั่วไทย ดูแลผู้บริโภค-เกษตรกร
นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวถึงสถานการณ์ราคาเนื้อสุกรขายปลีกที่ปรับขึ้นว่า เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคภายในประเทศและนักท่องเที่ยงที่ทยอยเข้ามาท่องเที่ยว หลังจากไทยเปิดประเทศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สวนทางกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดที่ลดลงกว่า 30% จากผลกระทบของโรค PRRS ในสุกร ทำให้สุกรแม่พันธุ์และสุกรขุนเสียหายภาวะโรค และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชะลอการเข้าเลี้ยงสุกรเพื่อรอดูสถานการณ์ หลังจากต้องแบกรับภาระขาดทุนมานานกว่า 3 ปี จากกลไกตลาดที่เกิดขึ้น ภาครัฐโดยท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ด้วยการจัดโครงการ “พาณิชย์...ลดราคา!...
HSI เอ็นจีโอระดับโลก ยก CPF เป็นผู้นำในการเลี้ยงไก่ไข่ Cage Free ขับเคลื่อนระบบอาหารที่รับผิดชอบ
Humanity Society International (HSI) องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรชั้นนำระดับโลกด้านการรณรงค์ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ของสัตว์ป่า สัตว์ในฟาร์ม และสัตว์เลี้ยง ชื่นชม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นผู้นำในความมุ่งมั่นเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free Farm) อย่างจริงจัง จากการติดตามข่าวสารที่รายงานในสื่อมวลชนต่างประเทศ ซึ่งเป็นมาจากการติดตามข้อมูลการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ขับเคลื่อนการยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมไก่ไข่อย่างจริงจัง พร้อมเดินหน้าเพิ่มการผลิตไข่ไก่จากฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงต่อเนื่อง...
เกษตรกรขอผู้บริโภคเห็นใจ พ้อขายหมูขาดทุน เพื่อคงอาชีพเดียวไว้ ฮึดสู้ต่อแม้ต้นทุนเพิ่ม-หมูเสียหายพุ่ง
นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์สุกรในขณะนี้ว่า แม้ราคาแนะนำการขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ล่าสุดจะอยู่ที่ 82-84 บาทต่อกิโลกรัม ก็ตาม แต่ราคานี้เป็นเพียงการประกาศ เพื่อสะท้อนต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่แท้จริงของเกษตรกร โดยราคาขายจริงที่เกษตรกรได้รับแค่เพียง 75-80 บาท แตกต่างกันไปตามภูมิภาค แปรผันตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดในแต่ละพื้นที่ สวนทางกับต้นทุนการเลี้ยงสุกรขุนเฉลี่ยไตรมาส 3/2564 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 80.03 บาท ตามการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...
ซีพีเอฟรับซื้อข้าวช่วยชาวนา ทำวัตถุดิบอาหารสัตว์
ซีพีเอฟ ช่วยพยุงราคาข้าวช่วยเหลือชาวนา โดยประสานความร่วมมือโรงสีข้าว รับซื้อข้าวเปลือกสำหรับนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ พร้อมช่วยเสริมสภาพคล่องให้โรงสี โดยรับซื้อต่อเนื่องมาตั้งแต่ตุลาคมจนถึงปัจจุบัน สอดคล้องนโยบายรัฐและตอกย้ำการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์
นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีการนำผลผลิตจากข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว เช่น ปลายข้าวและรำข้าว มาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง และล่าสุด...
“ศูนย์เรียนรู้สวนป่ารักษ์นิเวศ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” ซีพีเอฟหนุนชุมชนบริหารจัดการพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน
“โครงการสวนป่าชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” หนึ่งในโครงการที่คว้ารางวัล "Hall of Fame" จากการประกวด "รางวัล 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน ประจำปี 2563" (CPF CSR Awards 2020) มารู้จักและติดตามความคืบหน้าของโครงการฯ ที่สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และต้นไม้ในพื้นที่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
“โครงการสวนป่าชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” ภายใต้ “โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ” เป็นศูนย์การเรียนรู้ป่านิเวศชุมชนและต้นแบบปลูกป่าเชิงนิเวศในฟาร์มสุกรแห่งแรกของไทย เกิดจากแนวคิดพลิกพื้นที่ว่างเปล่าในฟาร์มเลี้ยงสุกรเป็นป่านิเวศในชุมชน เมื่อปี...
ซีพีเอฟ ขับเคลื่อน “สุขภาพหนึ่งเดียว” ผลิตอาหารมั่นคง ปลอดภัย ใส่ใจคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำหลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ยึดมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล ส่งเสริมการผลิตอาหารมั่นคงและปลอดภัย เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นายสัตวแพทย์พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ภายใต้หลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” ขององค์การอนามัยโลก...
คอนแทรคฟาร์มซีพีเอฟ ชูเทคโนโลยียกระดับการเลี้ยงหมูสู่สมาร์ทฟาร์ม ผลิตอาหารปลอดภัย
เกษตรทันสมัยสู่ฟาร์มอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท ฟาร์ม การนำนวัตกรรม เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์มาใช้ เป็นแนวทางใหม่ที่เกษตรกรให้ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ "สมาร์ท ฟาร์ม " นอกจากเป็นการทำการเกษตรที่ทันสมัย สามารถวางแผนการทำงานได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังตอบโจทย์การผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อส่งมอบให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
ฟาร์มสุขสำราญ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ฟาร์มเลี้ยงสุกรในรูปแบบสมาร์ท ฟาร์ม เต็มรูปแบบ ซึ่งเจ้าของฟาร์มในวัย...
CPF คว้า 5 รางวัล Asian Excellence Awards 2021 สะท้อนการดำเนินธุรกิจมาตรฐานระดับสากล
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ คว้า 5 รางวัลระดับสากล The 11th Asian Excellence Awards 2021 จัดโดยนิตยสาร Corporate Governance Asia สื่อชั้นนำของฮ่องกงและเอเชียที่มุ่งเสนอประเด็นด้านเศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วยรางวัล “ซีอีโอยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย” (Asia’s Best...
จิตอาสาซีพี-ซีพีเอฟ ระดมกำลังส่งมอบความห่วงใย เคียงข้างชาวสระบุรี สู้ภัยน้ำท่วมต่อเนื่อง
สถานการณ์น้ำท่วมในหลายอำเภอของจังหวัดสระบุรียังไม่คลี่คลาย มีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนโดยเฉพาะด้านอาหารและน้ำดื่มที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เครือซีพี และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จึงระดมทีมจิตอาสาลงพื้นที่นำอาหารและน้ำดื่ม ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม” ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเคียงข้างพี่น้องชาวสระบุรีผู้ประสบอุทกภัย ผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากไปด้วยกัน
นางสาวญาณิพัชญ์ ศรีโคตร นายอำเภอดอนพุด พร้อมด้วยชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอดอนพุด ร่วมกันรับมอบผลิตภัณฑ์อาหารสด ทั้งเนื้อหมูสด เนื้อไก่สด และไข่ไก่...
สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จี้รัฐทบทวนนโยบายวัตถุดิบอาหารสัตว์ด่วนหลังขาดทุนหนักจากราคาวัตถุดิบพุ่งสูงกว่า 20-30%
สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผนึกกำลังเรียกร้องรัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารจากภาระขาดทุน เดือดร้อนหนักหลังราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 20-30% หวังรัฐบาลปลดล็อกอุปสรรคส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สมาพันธ์ฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนผ่อนปรนมาตรการที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่ายในห่วงโซ่การผลิต ประกอบด้วย การยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% และ ภาษีนำเข้า DDGS 9% (Dry distillers Grains with Solubles) ผลผลิตที่เหลือจากการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพดเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ ปรับลดสัดส่วนการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศต่อการนำเข้าข้าวสาลี จากปัจจุบัน 3:1 เหลือ...