ชป.รณรงค์ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง หวังเพิ่มผลผลิต/ลดก๊าซมีเทนและประหยัดน้ำได้มากที่สุด

0
8270

เช้าวันนี้(28 ก.ย. 63) นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะกรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย( Thai National Committee on Irrigation and Drainage ) หรือ THAICID เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการหัวข้อ “อนาคตชาวนากับการทำนาแบบใช้น้ำน้อย Chapter 3จัดโดยคณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิวศของนาข้าว (INWEPF) ได้รับเกียรติจากดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานเข้าร่วมเสวนาในฐานะรองประธาน INWEPF ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องแถลงข่าวศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในฐานะเลขาธิการ Thaicidว่า คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิวเศของนาข้าว ได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมหาแนวทางในการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต้นทุน โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตร วิธีการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการปลูกข้าวในแปลงนาแบบวิธีใช้น้ำน้อย หรือวิธีแบบเปียกสลับแห้ง จึงเป็นหนึ่งในเทคนิคการชลประทาน เพื่อการประหยัดน้ำที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับการปลูกข้าวในทวีปเอเซีย และเป็นวิธีการจัดการน้ำชลประทานที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดการเกิดก๊าชมีเทนในนาข้าวได้เป็นย่างมาก โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวได้อีกด้วย ปัจจุบันเทคนิการชลประทานแบบเปียกสลับแห้ง เป็นที่ยอมรับและเผยแพรในกลุ่มเกษตรกรหลายๆประเทศ ได้แก่ ประทศจีน เวียดนาม บังกลาเทศ และอินเดีย เป็นต้น

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การลดการใช้น้ำชลประทานในนข้าว ขณะที่ยังรักษาผลผลิตข้าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการผลิตข้าวแบบยั่งยืน เทคนิการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง (AWD) ได้รับการพัฒนและแนะนำสำหรับเกษตรกรในประเทศแถบทวีปซียรวมทั้ในประเทศทย ในระยะเวลา 10-20 ปี    ที่ผ่นมา แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากเษตรกรไท โดยเกษตรกรบางกลุ่มทราบถึงข้ดีขงกรทำนาด้วยวิธีปียกสลับแห้ แต่ยังขาดความชื่อมั่นในการปล่อยน้ำเข้าหรือออกจากแปลงนา ทำให้เษตรกรยังคงใช้วิธีการทำนาในรูปแบบเดิม ซึ่งเป็นการสิ้นปลืองทรัพยากรน้ำ การทำนาแบบใช้น้ำน้อย เปียกสลับแห้ง มี 4 ปัจจัยสำคัญได้แก่ ภาคเกษรกรที่จะต้องเปิดใจให้เข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องทั้งในหลักการและปฏิบัติ อีกส่วนสำคัญคือภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะรู้จักพื้นที่และความต้องการของเกษตรกรเป็นอย่างดีสามารถพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และสุดท้ายคือภาควิชาการที่จะต้องถอดองค์ความรู้ทางวิชาการให้ออกมาเป็นการปฏิบัติที่สามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านพันจ่าโทเฉลียว น้อยแสง เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดชัยนาท หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าวถึงประเด็นการปลูกข้าวใช้น้ำน้อย โดยวิธีเปียกสลับแห้ง ว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวการทำนาเปียกสลับแห้งค่อนข้างได้ผลในแง่ของการเพิ่มผลผลิตของนาข้าวให้เกษตรกรและยังสามารถลดต้นทุนได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดน้ำและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า และอยากให้มีการจัดการระบบการส่งน้ำองชลประทานให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่จะใช้การทำนาแบบเปียกสลับแห้งในอนาคตด้วย”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่นมา คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว ได้ทำหน้ที่เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ในด้านการทำนในรูปแบบเปียกสลับแห้มาโดยตลอด ทั้งกรให้ความรู้ในรูปแบบโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การจัดประชุม เพื่อผยแพร่ความรู้และขยายผลสู่กรปฏิบัติในเขตพื้นที่ชลประทานผ่านโครงการชลประทานและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาของกรมชลประทานทุกโครงการทั่วประเทศ