กฟผ. ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี ฝึกอบรม มาตรฐาน รปภ. ชั้นสูง (Security Operations)

0
10863

ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Human and Business Development คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยภายใต้โครงการพัฒนามาตรฐานอาชีพงานรักษาความปลอดภัยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รองศาสตราจารย์ ดร. เนตร์พัณณา ยาวิราช ผู้จัดการโครงการ เปิดเผยว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Human and Business Development คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีโครงการพัฒนามาตรฐานอาชีพงานรักษาความปลอดภัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านรักษาความปลอดภัยในเชิงลึกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยเพื่อฝึกฝนผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยให้เกิดความชำนาญในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือตลอดจนเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษา และประสบการณ์เชิงประจักษ์จากองค์การชั้นนำในประเทศในด้านรักษาความปลอดภัย เพื่อให้เกิดแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์สามารถนำมาต่อยอดและปรับใช้ในการดำเนินงานใน กฟผ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพรักษาความปลอดภัย กฟผ. ให้เป็นที่ยอมรับ ตลอดจนสามารถสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ ของ กฟผ. ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจในด้านการผลิต และ
ส่งกระแสไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านพลังงานที่มีความสำคัญในระดับประเทศ จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552  และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยภาครัฐฝ่ายพลเรือน ในการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สิน อาคาร สถานที่ ระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนบุคคลภายในพื้นที่ให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย โดยบุคลากร ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการงานรักษาความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จ

ในการนี้ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลและคุณภาพ (อศค.) และ ฝ่ายความปลอดภัย (อปภ.)
จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินการจัดหลักสูตรการปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) ภายใต้โครงการพัฒนามาตรฐานอาชีพงานรักษาความปลอดภัย กฟผ.
เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่จำเป็นในงานรักษาความปลอดภัยใน
เชิงลึกให้แก่บุคลากรทางด้านงานรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย พนักงาน กฟผ. และพนักงานสัญญาจ้างพิเศษซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานอาชีพ ตลอดจนสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยหน่วยงานภาครัฐฝ่ายพลเรือน สำหรับโครงการพัฒนามาตรฐานอาชีพงานรักษาความปลอดภัย กฟผ. ประกอบด้วยการพัฒนากลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น (Introduction to Security Studies หลักสูตรการปฏิบัติการด้านรักษาความปลอดภัย (Security Operations) จำนวน 1 รุ่น สำหรับผู้ผ่านหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น (Introduction to Security Studies) หลักสูตรการบริหารงานรักษาความปลอดภัย (Head of Security Section) เป็นการสร้างเสริมทักษะทางการบริหารงานรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้ง  ใน และนอกองค์กร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การฝึกอบรมประกอบด้วย การศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย การจัดการจราจร  การฝึกปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยสถานที่ เหตุประทุษร้ายต่อร่างกาย/ทรัพย์สิน การชุมนุมประท้วง การก่อวินาศกรรม (วัตถุต้องสงสัย) การต่อสู้ป้องกันด้วยมือเปล่า ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ สำนึกในความเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ การลอบสังหารและการปฏิบัติการของฝ่ายตรงข้าม โครงสร้างของชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย มาตรการในการรักษาความปลอดภัย เทคนิคการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในขณะเคลื่อนที่  การต่อสู้ป้องกันตัว การเคลื่อนไหวร่างกาย ทิศทางการเดินตามแรงในการป้องกันตัว เทคนิคการควบคุมคนร้าย และการอารักขาบุคคลสำคัญ  ศึกษาการใช้อาวุธปืน โดยเริ่มจากการเรียนรู้ปืน ลักษณะของปืน กฎความปลอดภัย หลักพื้นฐานในการยิงปืน การใช้งานปืนพกสั้น .38 นิ้ว อาวุธศึกษา ฝึกยิงด้วยกระสุนจริง การใช้งานปืนลูกซองยาว ปืนกลมือ HK54 (MP5) ความผิดเกี่ยวกับ พรบ.ว่าด้วยอาวุธปืนและเครื่องกระสุน ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ รปภ ในการใช้อาวุธ การถอดประกอบและปรนนิบัติบำรุงรักษาอาวุธปืน ปืนพบ .38 ปืนลูกซองยาว/8HK 54 ความรู้ในการใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย การใช้อาวุธปืน การบำรุงรักษาอาวุธปืน การใช้อาวุธประจำกาย การใช้อุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น เครื่องตรวจโลหะ เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ได้รับความกรุณาด้านวิทยากรจากศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย และครูวิชาปฎิบัติการพิเศษ แผนปฎิบัติการพิเศษ กองฝึกอากาศโยธิน ศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

ภายหลังการฝึกอบรมมีการทดสอบ ประเมินการปฏิบัติการยิงปืน โดยมีการให้คะแนนความถูกต้องตรงตามเป้าหมาย ผลการทดสอบพบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนยอดเยี่ยม คะแนนผ่านทั้งหมดทุกคน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับวุฒิบัตร และเข็มวิทยะฐานะ จากนั้นได้มีการจัดพิธีปิดโดยผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ได้มอบวุฒิบัตร และเข็มวิทยะฐานะให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมและกล่าวปิดการฝึกอบรม   นับเป็นการฝึกอบรมที่เข้มข้นที่สุดเท่าที่เคยมีมา